วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

 หลักการทำงานของเครื่องยนต์สเตอร์ลิง



ขั้นตอนที่ 1 ให้ความร้อนกับอากาศภายในกระบอก จึงทำให้มีความดันก๊าซเพิ่มขึ้นดันให้ลูกสูบไล่เคลื่อนที่มาทางด้านขวา ในขณะที่ลูกสูบกำลังยังคงหยุดนิ่ง


ขั้นตอนที่ 2 เมื่อลูกสูบทางด้านร้อนมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดแรงดันลูกสูบกำลังเคลื่อนตัวไปทางขวา และเมื่อรับความร้อนจนกระทั่งอุณหภูมิคงตัว ความดันก็จะลดลง




ขั้นตอนที่ 3 เมื่อลูกสูบกำลังเลื่อนมาทางขวาทำให้ล้อตุนกำลังจะหมุนไปพร้อมกับดันลูกสูบไล่เคลื่อนที่ไปทางซ้าย เพื่อไล่ความร้อนออกมาทางด้านเย็นและระบายออกสู่ภายนอกเครื่องยนต์สเตอร์ลิง
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อลูกสูบกำลังเคลื่อนกลับมาทางขวา ล้อตุนกำลังก็หมุนไปพร้อมกับดึงลูกสูบไล่กลับมาทางซ้าย ซึ่งทั้งหมดได้กลับมาอยู่ตำแหน่งเดียวกับขั้นตอนที่ 1 และวนเช่นนี้ไปเป็นวัฏจักร



ภาพแสดงการทำงานของเครื่องยนต์สเตอร์ลิง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87
และ https://www.google.co.th/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87&biw=1366&bih=667&tbm=isch&imgil=zq3mKG8eb-YpfM%253A%253BVvkLt7mzZZ2AYM%253Bhttp%25253A%25252F%25252Fmen.postjung.com%25252F679210.html&source=iu&pf=m&fir=zq3mKG8eb-YpfM%253A%252CVvkLt7mzZZ2AYM%252C_&usg=__QbXeQicdUWH_HpTRf2mgBfK8A3w%3D&ved=0ahUKEwij3uyxpPrOAhVEu48KHTFHAUAQyjcIJQ&ei=B3nOV-M-xPa-BLGOhYAE#imgrc=zq3mKG8eb-YpfM%3A


ผู้คิดค้นเครื่องยนต์สเตอร์ลิง

ความเป็นมาของเครื่องยนต์สเตอร์ลิง

Robert Stirling เป็นคนประเทศอังกฤษที่มีเชื้อสายสก๊อตแลนด์ โดยมีอาชีพเป็นนักบวชแต่มีงานอดิเรกเป็นนักประดิษฐ์ ซึ่งแรงบัลดาลใจในการผลิตเครื่องยนต์สเตอร์ลิงคือ เขาต้องการผลิตเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากกว่าเครื่องจักรไอน้ำในสมัยนั้น ที่มักจะมีการระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิต และเขาได้สร้างเครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1816 หลังจากนั้น 55 ปี ทฤษฎีทั่วไปสำหรับการวิเคราะห์เครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้พัฒนาขึ้นโดย Gustav Schmidt ในปี 1871 โดยสมการหลักที่ใช้คือ สมการอนุรักษ์มวล สมการสภาวะ , สมการการเคลื่อนที่แบบรูปคลื่นซายน์ (Sinusoidal) และได้พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 1958 ห้องปฏิบัติการค้นคว้าฟิลลิปส์ โดย Meijer ได้สร้างเครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบเบต้าใช้กลไกแบบรอมห์บิค มีการรีเจนเนอร์เรเตอร์ ใช้ไฮโดรเจนเป็นสารทำงานแทนอากาศ ทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น




ที่มา ; https://www.youtube.com/watch?v=1m9RQjoriKg
และ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87

สเตอร์ลิง

      เครื่องยนต์สเตอร์ลิง (Stirling Engine) เครื่องยนต์สเตอร์ลิงหรือเครื่องจักรสเตอร์ลิง (Stirling Engine) คือเครื่องยนต์สันดาปภายนอกที่สามารถใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลาย  ขอให้มีแหล่งพลังงานความร้อน เครื่องยนต์ก็สามารถทำงานได้ ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Stirling เมื่อปี ค.ศ. 1816 เป็นที่รู้จักกันในชื่อเครื่องยนต์อากาศร้อน (Hot air engine) โดยจะมีก๊าซบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบ ทำงานโดยอาศัยหลักการที่ว่า เมื่อความร้อนในกระบอกสูบเพิ่มขึ้นจะทำให้อากาศในกระบอกสูบขยายตัว และเมื่อเพิ่มความเย็นให้กับกระบอกสูบด้านตรงข้ามก็จะทำให้อากาศหดตัว ทำให้เกิดแรงดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่สลับไปมาที่อยู่ภายในกระบอกสูบ เกิดเป็นพลังงานกลหรืองานอย่างต่อเนื่อง โดยความร้อนจะถูกป้อนให้กับเครื่องยนต์ทางด้านใดด้านหนึ่งแล้วผลิตงานออกมาตราบเท่าที่ยังคงมีความร้อนป้อนอยู่


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87